เว็บไซต์ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเณย์ กำลังทำการปรับปรุงบางส่วน ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ
ติดต่อภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คลิก
ที่ทำงาน สังกัดภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ประวัติการศึกษา
ปี 2550 สำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี
ปี 2554 สำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปี 2553-2554 Specialist officer ภัณฑารักษ์ประจำ VR Museum บริษัทคิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด
ปี 2555 ผู้จัดการฝ่ายงานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ภาพกางเขนเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกาย ในโรมันคาทอลิกและออร์โธดอกซ์มักมีภาพพระคริสต์ติดตรึงอยู่ด้วย แต่ในนิกายโปรแตสแตนท์มักจะไม่มีรูปพระคริสต์เป็นเพียงกางเขนเปล่า การตรึงกางเขนเป็นวิธีประหารชีวิตแบบโบราณที่แพร่หลายในเปอร์เซีย คาร์เทจ รวมทั้งโรมันด้วย จนในสมัยพระเจ้าคอนแสตนตินผู้อุปถัมภ์ศาสนาคริสต์ พระองค์โปรดให้นำไม้กางเขนมาเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา ในพระคัมภีร์ พระเยซูทรงถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการตรึงไม้กางเขนเมื่อพระชนม์ได้ 33 ปี ที่เนินกัลป์วารี (Calvary) หรือเนินหัวกะโหลก พระองค์ถูกตรึงระหว่างโจรสองคน ขณะที่พวกสานุศิษย์ทิ้งพระองค์ไปเพราะความกลัว เหลือเพียงพระมารดาและนักบุญยอห์นอัครสาวกเท่านั้น ดังนั้นในทางศิลปกรรม มักจะพบภาพพระคริสต์ถูกตรึงในลักษณะกึ่งเปลือยกายท่ามกลางโจร 2 คน ที่เชิงกางเขนมักจะมีพระมารดาที่แสดงความโศกเศร้า และนักบุญยอห์นอัครสาวก ที่แสดงเป็นภาพชายหนุ่ม สำหรับภาพนี้เป็นประติมากรรมการตรึงกางเขนแกะสลักจากไม้ ประดิษฐานบนรถสำหรับขบวนแห่ ในโบสถ์ซานออกัสตินในอินทรามุรอส
นักบุญอันนา (St. Anne) ในภาษฮีบรูคือ Hanna แปลว่า พระพรของพระเจ้า เป็นมารดาของแม่พระ หรือยายของพระเยซู สามีของท่านคือ โจอาคิม (Joachim) เป็นผู้ชอบธรรม ทั้งคู่แต่งงานกันแต่ไม่มีบุตรจนแก่เฒ่า ท่านจะเข้าไปถวายเครื่องบูชาในพระวิหารแต่ถูกปฏิเสธเนื่องจากไม่มีบุตร (ชาวยิวถือว่าการไม่มีบุตรเท่ากับพระเป็นเจ้าสาปแช่ง) ท่านจึงวิงวอนขอบุตรต่อพระผู้เป็นเจ้า และสัญญาว่าจะถวายบุตรให้พระเป็นเจ้า พระองค์ได้ประทานพระนางมารีย์ผู้ปราศจากบาปมลทินตั้งแต่กำเนิด เรื่องราวของทั้งคู่นั้นไม่ปรากฏในคัมภีร์ในสารบบของคริสต์ศาสนา แต่ปรากฏในคัมภีร์นอกสารบบ คือพระวรสารของนักบุญเจมส์ (หรือยากอบ) อายุราวค.ศ. 150 ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นคัมภีร์นอกรีต แต่ตามธรรมประเพณีของชาวคริสต์โบราณก็ให้ความเคารพนักบุญอันนาเป็นอย่างมาก ทั้งในกรีกออร์โธดอกซ์ คาทอลิก แม้แต่มุสลิมเองก็กล่าวถึงบทบาทของนักบุญอันนา ในฐานะบรรพบุรุษของพระผู้เป็นเจ้า ประติมากรรมของท่านมักทำเป็นผู้หญิงมีอายุ กำลังอุ้มแม่พระ (มักเป็นเด็กหญิงตัวเล็กๆที่รู้ความแล้ว) ชื่อของท่านมักปรากฏพร้อมกับนักบุญโจอาคิมผู้เป็นตา ท่านเป็นองค์อุปถัมภ์รัฐมิชิแกน ในสหรัฐอเมริกา ควิเบก ในแคนาดา ผู้ตั้งครรภ์ และผู้เป็นปู่ย่าตายาย
ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://www.art-in-sea.com/.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://www.art-in-sea.com/
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ 0 2224 7684 โทรสาร 0 2226 5355