เว็บไซต์ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเณย์ กำลังทำการปรับปรุงบางส่วน ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ
ติดต่อภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คลิก
เมืองอินทรามูรอส เมืองเก่าของมะนิลา ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำปาซิก (Pasig River) ภายในกำแพงเมืองรูปหัวธนูซึ่งเป็นกำแพงเมืองแบบตะวันตกที่ได้รับความนิยมในระยะนั้น กำแพงแต่ละด้านยาว 4 กิโลเมตร เมืองนี้เดิมเป็นที่ตั้งพระราชวังของราชาสุไลมาน กษัตริย์ชาวมุสลิม ต่อมา สเปนได้เข้ายึดและเปลี่ยนมะนิลาเป็นเมือหลวงของอาณานิคมสเปน ภายในป้อมมีทั้งโบสถ์ คอนแวนต์ โรงเรียนและโรงพยาบาล ค่ายทหาร รวมถึงสถานที่ราชการต่างๆ
ป้อมซานติอาโก้ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองอินทรามูรอส เดิมเป็นที่ตั้งป้อมของสุลต่านสุไลมาน ต่อมา ใน ค.ศ.1571 ชาวสเปนสถาปนาเมืองมะนาขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ของฟิลิปปินส์ และสร้างป้อมซานติอาโกขึ้น ป้อมนี้เดิมมีกำแพงสร้างขึ้นด้วยไม้ ต่อมาถูกทำลายด้วยโจรสลัดจีน จึงมีการสร้างขึ้นใหม่โดยใช้หิน ในปลายศตวรรษที่ 16 ต่อมา ในศตวรรษที่ 18 มีกรสร้างประตูของป้อมอุทิศให้กับเซนต์เจมส์ นักบุญผู้อุปถัมภ์ประเทศสเปน ต่อมาประตูแห่งนี้ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่จะได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในปลายศตวรรษที่ 20 ป้อมแห่งนี้เป็นที่ตั้งของกองทหารต่างๆ ทั้งของสเปน ของสหรัฐอเมริกาและของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยเหตุนี้ป้อมดังกล่าวจึงเสียหายจากสงครามต่างๆมาก
เซนต์เจมส์ หนึ่งในอัครสาวกของพระเยซูและนักบุญผู้อุปถัมภ์ประเทศสเปน เนื่องจากฟิลิปปินส์เคยตกเป็นเมืองขึ้นสเปนจึงมีการใช้ภาพนักบุญองค์นี้ประดับประตูของป้อมซานติอาโก้ด้วย อนึ่ง เนื่องด้วยสเปนเคยตกอยู่ภายใต้แขกมัวรู้นับถือศาสนาอิสลามแต่ต่อมาชาวคริสต์สามารถปราบปรามแขกมัวร์ลงได้ ด้วยเหตุนี้ เซนต์เจมส์จึงมักแสดงภาพเป็นนักบุญขี่ม้าเหยียบย่ำอยู่บนแขกมัวร์ ภาพสลักนี้เป็นสิ่งที่ทำขึ้นใหม่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ศิลปะชวาภาคกลาง,จันทิอรชุน,จันทิปุนตเทพ,จันทิศรีกันทิ,จันทิภีมะ,จันทิเมนดุต,จันทิปะวน,บุโรพุทโธ,จันทิกะลาสัน,จันทิส่าหรี,จันทิเพลาสัน,จันทิเซวู,จันทิปรัมบะนัน,ชวาตะวันออก,จันทิเบลาหัน,จันทิกิดาล,จันทิจาโก, จันทิสิงหาส่าหรี,จันทิจาวี,จันทิปะนะตะรัน,จันทิติกุส,จันทิบาจังระตู,บาหลี,ปุระทานาล็อต,ปุระเบซาคิห์,ปุระอุลุนดานู,ปุระเกเห็น,ปุระมาโอสปาหิต,ปุระตะมันอยุน,จันทิสี่หลังที่กุหนุงกาวีร
ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://www.art-in-sea.com/.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://www.art-in-sea.com/
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ 0 2224 7684 โทรสาร 0 2226 5355