ปยู หรือพยุ
ชนชาติปยู (Pyu)หรือเพรียง คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในแถบเมืองแปรทางภาคกลางของประเทศพม่า มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 11-15 มีกษัตริย์ปกครอง ราชธานีแห่งแรก คือ ศรีเกษตร ราชธานีแห่งที่ 2 คือ เมืองไบก์ถาโน (Beikyhano) มีอายุในราวพุมธศตวรรษที่ 11-13 หลังจากนั้นได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมือง ฮาลิน จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 14 จึงเสื่อมลงจากการรุกรานของอาณาจักรน่านเจ้า (แถบมณฑลยูนนาน) รวมถึงชาวปยูได้ถูกกวาดต้อนไปอยู่บริเวณเมืองคุนหมิงในปัจจุบัน และบางส่วนได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองพุกามในปัจจุบัน ต่อมาได้รวมตัวกับชนพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งร่วมกันสถาปนาอาณาจักรพุกาม ซึ่งชนกลุ่มนี้น่าจะเป็นบรรพบุรุษของชาวพม่าในปัจจุบัน จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าชนชาติปยู นับถือพุทธศาสนา ลัทธิเถรวาท และสรรวาสติวาส ส่วนงานศิลปกรรมพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับศิลปะอินเดีย ลักษณะเด่นของเจดีย์สมัยนี้ คือ เจดีย์ทรงกระบอก และทรงลอมฟาง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเจดีย์ทรงโอคว่ำ และถือเป็นเจดีย์รูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดในศิลปะพม่า อนึ่ง ชนชาติปยูยังมีอายุร่วมสมัยกับอาณาจักรทวารวดี (ปัจจุบันคือประเทศไทย)
ชนชาติมอญโบราณมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-15 ซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับชนชาติปยู ชนชาติมอญอาศัยอยู่ในตอนใต้ของประเทศพม่าบริเวณอ่าวเมาะตะมะ โดยมีเมืองโบราณที่สำคัญ ได้แก่ เมืองสะเทิม เมืองหวสาวดี เมืองมะริด เมืองทวาย เป็นต้น (บริเวณเมืองท่าชายทะเลเหล่านี้พบหลักฐานทางโบราณคดีของกลุ่มชนชาติมอญโบราณกระจายตัวอยู่ทั่วไป) อาณาจักรมอญโบราณมีเมืองหลวง แห่งแรก คือ เมืองสะเทิม หรือสุธรรมวดี (Thaton) ต่อมาจึงย้านมายังเมืองหงสาวดี หรือเมืองพะโค สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1368 เมืองศูนย์กลางศิลปะ คือ เมืองสะเทิม แรกเริ่มมอญนับถือศาสนาพราหมณ์ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา
เป็นอาณาจักรที่สำตัญมากที่สุดอาณาจักรหนึ่งในพม่า โดยมีเมืองพุกามเป็นศูนย์กลาง อาณาจักรพุกามตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี ศาสนสถานและงานศิลปกรรมต่างๆ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 โดยเริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าอนิรุทธ์ขึ้นครองราชสมบัติในปี พ.ศ. 1587 ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นจารึก และงานศิลปกรรมต่าง สมัยนี้ถือเป็นยุครุ่งเรืองของพม่าอย่าแท้จริง ซึ่งมีการขยายอาณาเขตออกไปกว้างใหญ่ไพศาล กษัตริย์องค์สำคัญ เช่น พระเจ้าอนิรุทธ์ พระเจ้าจันสิตถา พระเจ้าอลองสิทธุ และพระเจ้าติโลมินโล เป็นต้น พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยนี้มีการสร้างเจดีย์เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันโบราณสถานเมืองพุกาม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน มีจำนวนถึง 2,217 แห่ง ศาสนสถานที่เมืองพุกามอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1. เจดีย์ทรงระฆังก่ออด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานซ้อนกันหลายชั้น และมียอดแหลม และ2. เจติยวิหาร หรือกู่ปายา
ศิลปะ | โบราณสถาน | สมัย |
---|---|---|
ศิลปะปยู | เจดีย์บูปะยา หรือภูปะยา | ราวพุทธศตวรรษที่ 16 |
เจดีย์บอบอจี | ราวพุทธศตวรรษที่ 16 | |
ศิลปะพุกาม | เจดีย์ฉปัฏ | สมัยของพระเจ้านรปติสิท |
เจดีย์ชเวซิกอง | พระเจ้าอนิรุทธ์โปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1603 | |
อนันทเจดีย์ | พ.ศ. 1634 | |
เจดีย์นันปยะ | ปลายพุทธศตวรรษที่ 16 | |
เจดีย์เปตเลคตะวันตกและตะวันออก | ปลายพุทธศตวรรษที่ 16 | |
เจดีย์นาคยน | ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 17 | |
เจดีย์อเพยทนะ | ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 1 | |
วิหารธรรมยางยี | พ.ศ. 1710-1713 | |
เจดีย์ชเวสันดอว์ | ต้นพุทธศตวรรษที่ 17 | |
วิหารชินบินทัลยวง | ต้นพุทธศตวรรษที่ 17 | |
ประตูตาราบะ | พ.ศ. 1392 | |
ปิตะกะไต้ | ||
วิหารปะโตตาเมียะ | ราวพุทธศตวรรษที่ 17 | |
เจดีย์มยิงกาบา | ราวพุทธศตวรรษที่ 17 | |
เจดีย์โลกานันท์ | ราวพุทธศตวรรษที่ 17 | |
เจดีย์เสียนเยทยีมา | ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 | |
วิหารสุลามณี | ||
วิหารสัพพัญญู | ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 | |
วิหารโลกะเตคปาน | ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 | |
วิหารติโลมินโล | พระเจ้าติโลมินโล ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 | |
เทวาลัยนัตลองจอง | พุทธศตวรรษที่ 18 | |
เจดีย์มหาโพธิ์ | ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 | |
เจดีย์เซดานาจี | ราวพุทธศตวรรษที่ 18 | |
วิหารปยะตองสู | ราวพุทธศตวรรษที่ 19 | |
มิงกลาเจดีย์ | ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 | |
เจดีย์เลเยทนา | ราวพุทธศตวรรษที่ 19 | |
วิหารอุบาลีเต็ง | ราวพุทธศตวรรษที่ 23 | |
สมัยหลังพุกาม | วิหารกยันสิตอูมิน | ราวพุทธศตวรรษที่ 19 |
ศิลปะพม่า-มอญ | วัดกัลยาณี | ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 |
พระธาตุอินแขวน | ราวพุทธศตวรรษที่ 23 | |
วัดเทพทันใจ โบตาถ่อง | ราวพุทธศตวรรษที่ 25 | |
ศิลปะมอญ | เจดีย์ชเวดากอง | ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 |
เจดีย์สุเล | ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 | |
พระธาตุมุเตา | ||
ศิลปะพม่า | วัดพระนอนชเวทัลเยือง (ชเวตาเรือง หรือฉินบินสะออง) | หลังพุทธศตวรรษที่ 21 |
พระราชวังพระเจ้าบุเรงนอง | พุทธศตวรรษที่ 21-22 | |
ศิลปะมัณฑะเลย์ | วัดมินกุน | พ.ศ. 2333 |
พระราชวังมัณฑะเลย์ | พ.ศ. 2400 | |
วัดชเวนันดอจอง วัดวิหารไม้ทองคำ ตำหนักของพระเจ้ามินดง | ||
วัดเขามัณฑเลย์ | ||
ศิลปะอมรปุระ-มัณฑะเลย์ | วัดกุโสดอ หรือวัดเจ้ากุศล | พ .ศ. 2400 |
พระมหามัยมุนี | ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 23-ต้นพุทธศตวรรษที่ 24 | |
ศิลปะมัยราชวงศ์คองบอง | พระราชวังโบราณที่อังวะ | |
วัดมหาอองมเยบองซานหรือวัดมนุออกจอง | พ.ศ. 2365 | |
วัดไม้สักบากะยา พระเจ้าพะคยีดอเมื่อปี | พ.ศ. 2386 | |
วัดมหาเตงดอจี | ||
อื่นๆ | นัต (ผีหรือเทวดาของชาวพม่า) |