เว็บไซต์ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเณย์ กำลังทำการปรับปรุงบางส่วน ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ
ติดต่อภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คลิก
พระเจ้ากยันสิตถาทรงสร้างอนันทเจดีย์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1634 และมีตำนานกล่าวถึงพระสงฆ์เล่าเรื่องถ้ำนันทมูลบนเขาคันธมาทน์ให้กับพระเจ้ากยันสิตถาฟัง พระองค์จึงสร้างวิหารนี้ขึ้น จากรูปแล้วอานันทเจดีย์เป็นอาคารที่มีแผนผังแบบจตุรมุข ทำให้ผังมีลักษณะเป็นรูปกากบาท สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากปหรรปุระ ในศิลปะปาละ ตอนต้น บริเวณแกนกลางทึบ มีหน้าที่ช่วยในการรองรับน้ำหนักยอดศิขระ ภายในมีการประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ พิงแกนกลางของอาคาร อาจมีความหมายถึง พระอดีตพุทธ ภายในมีทางเดินประทักษิณ 2 ชั้น และมีการเจาะช่องหน้าต่างเพื่อเพิ่มความสว่างให้กับทางเดิน ส่วนหลังคาลาดทำเป็นหลังคาลาดซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น ที่มุมหลังคาแต่ละชั้นมีการประดับเจดีย์ขนาดเล็ก เรียกว่า “สถูปิกะ” ถัดขึ้นไปจากหลังคาเป็นยอดทรงศิขระต่อด้วยเจดีย์องค์เล็กๆที่ยอด นอกจากนี้ที่วิหารด้านนอกยังมีการประดับแผ่นดินเผาเคลือบเป็นเรื่องพุทธชาดก 550 ชาติ ซึ่งมีจารึกมอญอยู่ด้านล่าง และยังมีวิหารอนันทออกจอง (วิหารขนาดเล็ก) สันนิษฐานว่าน่าจะใช้เป็นที่สำหรับพระภิกษุ นั่งวิปัสสนากรรมฐาน ภายในมีการเขียนภาพจิตรกรรมเรื่องเขาพระสุเมรุ ซึ่งมีอิทธิพลจีนเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน
วิหารปะโตตาเมียะ แปลว่า วิหารที่งอกงาม หมายถึง วิหารที่เป็นจุดศูนย์กลางให้พุทธศาสนา งอกงาม เผยแพร่ออกไปกว้างไกล มีตำนานกล่าวถึงพระเจ้าสอระหันเป็นผู้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้า แต่มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งกล่าวว่าเป็นวัดที่สร้างโดยพระเจ้าสอลูเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 มีลักษณะเป็นเจดีย์กลุ่มอิทธิพลปาละ แผนผังเป็นอาคารที่มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า (ครรภคฤหะมณฑป) ทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก ด้านบนเป็นองค์ระฆังทรงโอคว่ำ มีลักษณะคอดเล็กน้อยที่เอวมากกว่าจะเป็นทรงระฆังองค์ระฆังอยู่ในผังสิบสองเหลี่ยม และแต่ละเหลี่ยมมีการคาดด้วยเส้นลวดบัวในแนวตั้ง เส้นที่คาดต่อเนื่องไปถึงบัลลังก์ ซึ่งอยู่ในผังสิบสองเหลี่ยมเช่นเดียวกับ ส่วนปล้องไฉนมีลักษณะเป็นแผ่นฉัตร อนึ่ง บนปล้องไฉนปรากฏแถบในแนวตั้ง 12 แถบ (น่าจะกลายมาจากแผ่นเกล็ดสามเหลี่ยมในศิลปะปาละ) และที่สำคัญภายในวิหารยังมีภาพจิตรกรรมที่ยังใช้สีโทนเดียวทำจากธรรมชาติ มีสีเหลือง น้ำตาล เทา และดำเป็นหลัก ภาพจิตรกรรมมีหลายเรื่องราว เช่น ภาพพุทธประวัติ ตอนหมู่กษัตริย์มาเข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะที่กำลังอุ้มเจ้าชายสิทธัตถะ ภาพเจ้าชายสิทธัตถะประทับนั่งบนเรือเสด็จไปตามลำน้ำ ภาพเจ้าชายสิทธัตถะปลงพระเกศาริมแม่น้ำอโนมา ภาพพระพุทธเจ้าแสดง ปฐมเทศนา นอกจากนี้ยังมีภาพอดีตพุทธเจ้ากับพระสาวก และชาดกเรื่องต่างๆ 550 ชาติ
สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากยันสิทถา มีอายุราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 17 ตามตำนานกล่าวว่าพระเจ้ากยันสิทถาเมื่อครั้งยังเป็นเจ้าชายได้ทรงหลบหนีราชภัยจากพระเจ้าสอลูมาหลบซ่อนอยู่ที่บริเวณนี้โดยมีพญานาคคอยปกป้องคุ้มภัย เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์จึงโปรดให้สร้างสถานที่แห่งนี้ เจดีย์นาคยนเป็นเจติยวิหารในศิลปะพุกาม ตอนต้น ก่อด้ยอิฐ มีลักษณะผังเป็นแบบอาคารที่มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า (ครรภคฤหะมณฑป) ภายในมีทางเดินประทักษิณรอบห้องครรภคฤหะ และตรงกลางด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกประทับยืน นอกจากนี้ ยังมีการพบเครื่องไม้เดิมสมัยพุกาม ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วาดโดยใช้สีโทนเดียวเป็นหลัก ภาพที่เขียน เช่น ภาพอดีตพุทธเจ้า พุทธประวัติบางตอน และชาดกเรื่องต่างๆ และยังพบซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปเรียงรายรอบห้องพระประธานมีทั้งหมด 28 ซุ้ม ซึ่งน่าจะหมายถึงคติพระอดีตพุทธ ส่วนด้านนอกมีการทำหน้าต่างด้านละ 5 บาน ลักษณะเป็นซุ้มเคล็ก หน้าต่างในสมัยนี้ใช้แผงปิดหน้าต่างจึงทำให้แสดงสว่างเข้าไปได้น้อย ถัดขึ้นไปเป็นหลังคาลาด 3 ชั้น ที่มุมทั้ง 4 มีการประดับสถูปิกะ ด้านบนเป็นเจดีย์ยอดศิขระ บริเวณเก็จกลางมีการทำซุ้ม แต่เก็จขนาบเก็จประธานและเก็จมุมใช้ลวดบัวแบ่งชั้น มิได้มีการทำซุ้มกูฑุเหมือนในศิลปะอินเดียแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะกลายมาจากศิขระรุ่นแรกที่พบในศิลปะพุกาม
ในลานประทักษิณชั้นแรก ทางด้านซ้ายมือ (เมื่อเดินเวียนขวา) มีกำแพงเตี้ยๆซึ่งปรากฏภาพเล่าเรื่องในช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ก็คือ ชาดกและอวทาน อันเป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้า อนึ่ง เรื่องราวเหล่านี้ปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายมหายานหลายเล่ม เช่น คัมภีร์ชาตกมาลา คัมภีร์ทิวยาวทานและคัมภีร์อวทานศตกะ
พระเจ้าศีพี เป็นอวทานที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่ง โดยพระโพธิสัตว์ได้เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าศีพี ซึ่งปฏิญาณว่าจะสละทุกสิ่งที่มีผู้มาขอ ครั้งหนึ่ง นกเขาซึ่งกำลังถูกเหยี่ยวไล่ล่าได้เข้ามาขอให้พระองค์ทรงคุ้มครอง แต่เหยี่ยวไม่ยอมโดยกล่าวว่านกเล็กเป็นอาหารของตน ถ้าพระราชาไม่ยอมให้เหยี่ยวทั้งครอบครัวก็จะอดตาย พระราชาจึงดำริจะประทานขาของตนเองเพื่อให้เหยี่ยวนำไปกิน โดยให้ตั้งตราชั่งและชั่งนกเขากับอวัยวะของตนเอง แต่นกเขากลับมีน้ำหนักมากจนพระองค์ต้องสละร่างกายของพระองค์ทั้งหมดให้เหยี่ยว ท้ายสุดเหยี่ยวและนกเขาได้กลายร่างเป็นพระอินทร์และพระอัคนี และทูลว่ามาลองใจพระเจ้าศีพี
ในลานประทักษิณชั้นแรก ทางด้านซ้ายมือ (เมื่อเดินเวียนขวา) มีกำแพงเตี้ยๆซึ่งปรากฏภาพเล่าเรื่องในช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ก็คือ ชาดกและอวทาน อันเป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้า อนึ่ง เรื่องราวเหล่านี้ปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายมหายานหลายเล่ม เช่น คัมภีร์ชาตกมาลา คัมภีร์ทิวยาวทานและคัมภีร์อวทานศตกะ
ภาพนี้เป็นภาพกัจฉปาวทาน ครั้งหนึ่ง เรือของพ่อค้ากำลังจะอัปปางในทะเล พระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพญาเต่ายักษ์จึงได้ช่วยเหลือพ่อค้าเหล่านั้นไว้ แต่เมื่อไปถึงฝั่งแล้ว พ่อค้าซึ่งหิวโหยเหล่านั้นได้จัดการฆ่าและกินเต่าพระโพธิสัตว์ซึ่งสละชีวิตตนเองเพื่อประทังชีวิตแก่พ่อค้าเหล่านั้น
สี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ก็คือ ชาดกและอวทาน อันเป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้า อนึ่ง เรื่องราวเหล่านี้ปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายมหายานหลายเล่ม เช่น คัมภีร์ชาตกมาลา คัมภีร์ทิวยาวทานและคัมภีร์อวทานศตกะ
ภาพนี้เป็นภาพมหากปิชาดก พระโพธิสัตว์ได้เสวยชาติเป็นพญาวานร ต่อมากษัตริย์พร้อมด้วยบริวารมาล่าฝูงลิง พระโพธิสัตว์จึงได้ใช้หางของตนเองไปมัดไว้กับต้นไม้อีกต้นหนึ่งเพื่อช่วยเหลือฝูงลิงให้หนีไปได้ ต่อมาพระราชาได้สำนึกผิดและได้ฟังธรรมจากพญาวานร
ที่ด้านข้างของพนักบันไดและที่ฐานรองรับเรือนธาตุ (ฐานชั้นบน) ของจันทิเมนดุต ปรากฏภาพเล่าเรื่องแทรกอยู่ในลายพันธุ์พฤกษาด้วย ตัวอย่างนิทานเรื่องเล่าที่สำคัญได้แก่ นิทานเรื่องปูหนีบคอนกกระสาเจ้าเล่ห์ ภาพเล่าเรื่องจากนิทานปัญจตันตระ ซึ่งเป็นนิทานสอนใจของอินเดียแต่งโดยใช้สัตว์ต่างๆเป็นตัวละครหลัก เช่น นิทานเรื่องเต่าปากมากซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากนกกระยางสองตัว เป็นต้น นิทานบางเรื่องก็ปรากฏเช่นกันในนิทานชาดกด้วยอันแสดงให้เห็นว่านิทานเหล่านี้คงเป็นนิทานโบราณของอินเดีย จึงทำให้นิทานดังกล่าวไปปรากฏทั้งในศาสนาฮินดูและพุทธ
ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://www.art-in-sea.com/.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://www.art-in-sea.com/
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ 0 2224 7684 โทรสาร 0 2226 5355