เว็บไซต์ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเณย์ กำลังทำการปรับปรุงบางส่วน ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ
ติดต่อภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คลิก
กลุ่มจันทิบนที่ราบสูงเดียง
กลุ่มจันทิบนที่รายสูงเดียงที่สำคัญได้แก่ กลุ่มจันทิห้าหลังอันได้แก่ อรชุนเสมาร์ ศรีกันที ปุนตเทพและเสมาภัทร โดยจันทิที่สำคัญที่สุดในกลุ่มจันทิห้าหลัง ได้แก่จันทิอรชุน ซึ่งด้านหน้าปรากฏจันทิเสมาร์อีกแห่งหนึ่งประกอบอยู่ อาจเป็นไปได้ที่จันทิเสมาร์นี้คงอุทิศให้กับพาหนะของเทพประจำจัทิอรชุนก็ได้ (โคนนทิ?)
ชื่อของจันทิบนที่ราบสูงเดียงนี้ล้วนแต่ตั้งขึ้นตามตัวละครในมหากาพย์มหาภารตะ เช่น อรชุน ปุนตเทพ ภีมะ อย่างไรก็ตาม เทวาลัยเหล่านี้มิได้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับตัวละครเหล่านี้
ที่ฐานประทักษิณชั้นที่หนึ่ง ปรากฏภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติของพระศรีศากยมุนีตามคัมภีร์ลลิตวิสตระ ซึ่งเป็นพุทธประวัติฝ่ายมหายานที่มีปาฏิหาริย์มาก ภาพนี้เป็นภาพตอนมารวิชัย พระพุทธรองค์ประทับนั่งแสดงปางมารวิชัยอยู่ตรงกลาง
ศิลปะชวาภาคกลาง,จันทิอรชุน,จันทิปุนตเทพ,จันทิศรีกันทิ,จันทิภีมะ,จันทิเมนดุต,จันทิปะวน,บุโรพุทโธ,จันทิกะลาสัน,จันทิส่าหรี,จันทิเพลาสัน,จันทิเซวู,จันทิปรัมบะนัน,ชวาตะวันออก,จันทิเบลาหัน,จันทิกิดาล,จันทิจาโก, จันทิสิงหาส่าหรี,จันทิจาวี,จันทิปะนะตะรัน,จันทิติกุส,จันทิบาจังระตู,บาหลี,ปุระทานาล็อต,ปุระเบซาคิห์,ปุระอุลุนดานู,ปุระเกเห็น,ปุระมาโอสปาหิต,ปุระตะมันอยุน,จันทิสี่หลังที่กุหนุงกาวีร
ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://www.art-in-sea.com/.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://www.art-in-sea.com/
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ 0 2224 7684 โทรสาร 0 2226 5355