เว็บไซต์ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเณย์ กำลังทำการปรับปรุงบางส่วน ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ
ติดต่อภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คลิก
การแบ่งแยกและกำหนดอายุของศิลปะเขมร ใช้วิธีการพิจารณาวิวัฒนาการของลวดลายที่ใช้ประดับตกแต่งโบราณสถานเป็นสำคัญ วิธีการดังกล่าวนี้ ฟิลิปป์ สแตร์น (Philip Stern) นำมาใช้เป็นคนแรก และ นางจิลแบรท์ เดอ โคราล เรมุสาต์ (Gilberte de Coral Remusat) ก็เป็นนักวิชาการอีกท่านหนึ่งที่ใช้วิธีการศึกษาพัฒนาของลวดลายเช่นเดียวกัน
สิ่งที่นักวิชาการทั้ง 2 ท่าน นำมาใช้เปรียบเทียบคือลวดลายที่ปรากฏบนทับหลังและเสาประดับกรอบประตู ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรากฏมาตั้งแต่เริ่มแรกสร้างปราสาทในศิลปะเขมรจนถึงศิลปะในสมัยสุดท้าย นอกจากการศึกษาทางด้านรูปแบบแล้วยังมีการใช้หลักฐานจากศิลาจารึกที่กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มาช่วยสนับสนุนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย
การกำหนดชื่อรูปแบบต่างๆ ในศิลปะเขมรนั้น ส่วนใหญ่แล้วกำหนดจากชื่อของศาสนสถานที่สำคัญ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ สมัยก่อนเมืองพระนคร และ สมัยเมืองพระนคร โดยในช่วงก่อนเมืองพระนครนั้น งานศิลปกรรมมีการกระจายตัวอยู่ตามเมืองต่างๆ ตามความสำคัญในแต่ละช่วงเวลา ในระยะเริ่มต้นของศิลปะเขมรมีการรับรูปแบบและพัฒนามาจากศิลปะอินเดียตามการเข้ามาของศาสนาและการค้าเป็นสำคัญ ส่วนในสมัยเมืองพระนคร เริ่มตั้งแต่ศิลปะบาแค็งในรัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ทรงสร้างเมืองยโศธรปุระขึ้น หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองพระนคร” ในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมาศิลปะในสมัยต่างๆ ก็ได้เติบโตและพัฒนาขึ้น ณ เมืองแห่งนี้ จนกระทั่งถึงสมัยบายน ราวพุทธศตวรรษที่ 18 โดยนับเป็นสมัยสุดท้ายของการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเขมรโบราณพร้อมกับการสิ้นสุดสมัยเมืองพระนคร เนื่องจากการแผ่อิทธิพลเข้ามาของอาณาจักรอยุธยา
กลุ่มปราสาทขอม | อายุสมัย | |
ศิลปะก่อนเมืองพระนคร | ปราสาทพระโค | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 |
ปราสาทบากอง | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทโลเลย | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทบางแค็ง | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทกระวาน | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทปักษีจำกรง | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทบันทายศรี | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทแม่บุญตะวันออก | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทแปรรูป | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ศิลปะสมัยเมืองพระนคร | ปราสาทบัตชุม | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 |
ปราสาทเบย | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทพิมานอากาศ | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทตาแก้ว | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทคลัง | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ประตูเมืองพระนคร | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทบาปวน | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 | |
ปราสาทนครวัด | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 | |
ปราสาทบายน | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 | |
ปราสาทนาคพัน | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 | |
ปราสาทตาพรหม | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 | |
ประตูเมืองนครธม | ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 |
สมัยก่อนเมืองพระนคร | อายุสมัย |
ศิลปะพนมดา | ราวพุทธศตวรรษที่ 12 |
ศิลปะถาลาบริวัต | ราวพุทธศตวรรษที่ 12 |
ศิลปะสมโบร์ไพรกุก | ราวพุทธศตวรรษที่ 12 |
ศิลปะไพรกเมง | ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 |
ศิลปะกำพงพระ | ราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 |
ศิลปะกุเลน | พ.ศ.1370-1420 |
ศิลปะสมัยเมืองพระนคร | อายุสมัย |
ศิลปะพระโค | พ.ศ. 1420-1440 |
ศิลปะบาแค็ง | พ.ศ. 1440-1470 |
ศิลปะเกาะแกร์ | พ.ศ. 1465-1490 |
ศิลปะแปรรูป | พ.ศ.1490-1510 |
ศิลปะบันทายสรี | พ.ศ. 1510-1550 |
ศิลปะคลัง หรือ เกลียง | ช่วงกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 |
ศิลปะบาปวน | พ.ศ. 1560-1630 |
นครวัด | พ.ศ. 1650-1720 |
บายน | พ.ศ. 1720-1780 |
ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://www.art-in-sea.com/.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://www.art-in-sea.com/
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ 0 2224 7684 โทรสาร 0 2226 5355