เว็บไซต์ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเณย์ กำลังทำการปรับปรุงบางส่วน ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ
ติดต่อภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คลิก
นัตลองจอง แปลว่า วัดที่ประดิษฐานนัต (ผี หรือเทวดาของพม่า) ศาสนสถานแห่งนี้ถือเป็นวิหารแห่งเดียวในพุกามที่มีความเกี่ยวเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย จากจารึกที่พบที่มยิงกาบาทางทิศใต้ของวัด เขียนด้วยภาษาทมิฬ กล่าวว่า ชาวมาลัยมันดะลัมได้สร้างลานด้านหน้า(ฐานไพที) และประตูทางเข้า (ทิศตะวันออก) เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 วิหารหลังนี้มีผังเป็รูปสี่เหลี่ยม ผนังสูง ปัจจุบันด้านบนด้านบนต่อเติมเป็นเจดีย์ทรงศิขระ ด้านหน้าทางทิศตะวันออกเคยมีมุขยื่นออกมา แต่ในปัจจุบันพังทลายเหลือแต่พื้น ด้านในตรงกลางก่อทึบเพื่อรองรับน้ำหนักศิขระ สามารถเดินประทักษิณได้โดยรอบ บริเวณผนังแกนกลางแต่เดิมมีรูปและเรื่องราวเกี่ยวกับพระวิษณุ และเทพเจ้าในศาสนาฮินดูองค์ต่างๆ บริเวณผนังด้านนอกประดับภาพสลักหินแสดงถึงอวตารสิบปางของพระวิษณุ นอกจากนี้ยังมีจิตรกรรมฝาผนังอยู่ในเทวาลัย แต่ได้ลบเลือนไปเกือบหมด ปัจจุบันได้มีการปั้นเทวรูปพระวิษณุขึ้นมาใหม่เป็นฝีมือแบบชาวบ้าน
ประติมากรรมรูปพระศิวะสวมศิริภรณ์ที่มีตาบขนาดเล็กไม่มีลวดลายซ้อนขึ้นไปหลายชั้น ชายพกผ้านุ่งเป็นรูปสามเหลี่ยม แสดงให้เห็นถึงลักษณะของศิลปะบิญดิ่ญ เชื่อกันว่าพระศิวะเป็นบรมครูในการเต้นระบำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ทั้งนี้นาฏยศาสตร์อินเดียได้กล่าวถึงท่ารำ 108 ท่า โดยเชื่อกันว่าพระศิวะทรงเต้นทั้งหมด และยังมีความเชื่ออีกว่าการเต้นรำของพระศิวะมีผลต่อโลกของเราด้วย ทั้งนี้ในศิลปะจามเราพบประติมากรรมศิวนาฏราชจำนวนมากซึ่งมักแกะสลักประดับหน้าบันศาสนสถาน อาจเกี่ยวข้องกับการนับถือไศวนิกายก็เป็นได้
หน้าบันชิ้นนี้เดิมอยู่ที่ขวงมี่ ปัจจุบันนำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ประติมากรรมจามประจำเมืองดานัง จากลักษณะเข็มขัดวงโค้งของประติมากรรมสามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงมิเซิน A1 พระศิวะประทับอยู่บนหลังโคนนทิซึ่งเป็นพาหานะประจำของพระองค์ พระองค์กำลังร่ายรำ ในขณะเดียวกันเล่นวีนาไปด้วย ทั้งนี้เชื่อกันว่าพระศิวะเป็นบรมครูในการเต้นระบำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ทั้งนี้นาฏยศาสตร์อินเดียได้กล่าวถึงท่ารำ 108 ท่า โดยเชื่อกันว่าพระศิวะทรงเต้นทั้งหมด และยังมีความเชื่ออีกว่าการเต้นรำของพระศิวะมีผลต่อโลกด้วย
ขนย้ายมาจากเนิน Buu Chau ที่ตราเกียว กำหนดอายุอยู่ในสมัยมิเซิน A1 โดยดูได้จากลักษณะศิราภรณ์ และลักษณะที่ไม่ค่อยดุร้ายเมื่อเทียบกับทวารบาลสมัยดงเดือง ทวารบาล คือ เทพผู้นำหน้าที่พิทักษ์ศาสนสถานไม่ว่าจะเป็นศาสนาใด โดยมักอยู่หน้าประตูทางเข้า และมีหน้าตาดุร้ายเพื่อทำให้วิญญาณหรือสิ่งชั่วร้ายกลัวเกรง สำหรับในศาสนาฮินดูมีทวารบาลอยู่คู่หนึ่งที่ปรากฏบ่อยๆคือ นนทิศวร และมหากาล โดยนนทิศวรมักแสดงใบหน้าเรียบเฉย ส่วนมหากาลมักแสดงใบหน้าดุร้าย ทวารบาลองค์นี้ปรากฏคู่กันกับทวารบาลภาคปกติซึ่งแสดงใบหน้าเรียบเฉย ดังนั้นทวารบาลภาคปกติหมายถึงนนทิศวร ส่วนภาคดุร้ายคงหมายถึงมหากาล
หน้าบันชิ้นนี้ถูกขนย้ายจากตราเกียวมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ไซ่ง่อน แต่ต่อมาย้ายมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ประติมากรรมจามประจำเมืองดานัง รูปแบบประติมากรรมสะท้อนเอกลักษณ์ของศิลปะมิเซิน A1 อย่างเด่นชัด คือ องค์ประกอบบนพระพักตร์ไม่ใหญ่เทอะทะเหมือนศิลปะดงเดือง และศิราภรณ์ประกอบด้วยตาบขนาดเล็ก 5 ตาบ ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า เทวสตรีองค์นี้คือใคร หากพิจารณาจากของถืออันได้แก่ กระบอง จักร์ และสังข์ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า เทวสตรีองค์นี้คือมหิษสุรมรรทนี แต่น่าสังเกตว่าบนหน้าบันขาดองค์ประกอบสำคัญอีกสองประการคือ คันธนู และควาย นอกจากนี้ยังปรากฏนาค 13 เศียรด้วยซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในฉากที่เกี่ยวเนื่องกับมหิษสุรมรรทนี
หน้าบันชิ้นนี้ขนย้ายมาจากพงเล และแกะสลักฉากศิวนาฏราช ลักษณะผ้านุ่งของพระศิวะที่ประกอบด้วยชายพกรูปถุงขนาดเล็กและปลายชายพกยาวจรดพื้น ริ้วผ้าบนปลายชายพกแสดงการทบไปมาแบบซิกแซก ริ้วผ้ามีลักษณะประดิษฐ์ ทำให้กำหนดอายุหน้าบันชิ้นนี้ไว้ในสมัยมิเซิน A1 ภาพกลางหน้าบันแสดงฉากพระศิวะกำลังร่ายรำ หรือที่เรียกว่าศิวนาฏราช เชื่อกันว่าพระศิวะเป็นบรมครูในการเต้นระบำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ทั้งนี้นาฏยศาสตร์อินเดียได้กล่าวถึงท่ารำ 108 ท่า โดยเชื่อกันว่าพระศิวะทรงเต้นทั้งหมด และยังมีความเชื่ออีกว่าการเต้นรำของพระศิวะมีผลต่อโลกของเราด้วย ซ้ายและขวาของพระศิวะของเหล่านาคโดยสังเกตได้จากท่อนล่างของพระวรกายเป็นเกล็ด
หน้าบันชิ้นนี้ค้นพบที่หมู่บ้าน Bich La ในจังหวัดควงตรี (Quang Tri) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเว้ ลักษณะของประติมากรรมบนหน้าบันแสดงถึงรูปแบบของศิลปะมิเซิน A1 โดยสังเกตได้จากเส้นโครงร่างพระวรกาย และพระกรที่ดูออนช้อย และชายพกผ้านุ่งยาวจรดพื้น อย่างไรก็ดีลักษณะบางอย่างแสดงให้เห็นว่าช่างยังรักษารูปแบบของศิลปะดงเดืองบางประการไว้คือ พระพักตรของพระพุทธรูปที่มีพระขนางยาวต่อกันเป็นปีกกา พระโอษฐ์หนาแบะ และมีพระมัสสุ ภาพกลางหน้าบันแสดงฉากพระศิวะกำลังร่ายรำ หรือที่เรียกว่าศิวนาฏราช เชื่อกันว่าพระศิวะเป็นบรมครูในการเต้นระบำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ทั้งนี้นาฏยศาสตร์อินเดียได้กล่าวถึงท่ารำ 108 ท่า โดยเชื่อกันว่าพระศิวะทรงเต้นทั้งหมด และยังมีความเชื่ออีกว่าการเต้นรำของพระศิวะมีผลต่อโลกด้วย
เดิมประดิษฐานอยู่ในปราสาทมิเซินE1 เพื่อรองรับศิวลึงค์ขนาดใหญ่ ลักษณะกรอบซุ้มจระนำที่โค้ง ประดับด้วยดอกไม้โดยปล่อยพื้นหลังว่างเปล่าแสดงถึงเอกลักษณ์ของสมัยมิเซินE1 นอกจากนี้ลายประจำยามก้ามปูที่ประดับตามขอบพนักบันได และขอบฐานก็เป็นลักษณะเด่นของยุคสมัยนี้ด้วย งานแกะสลักประดับฐานแสดงให้เห็นถึงการจำลองเขาไกรลาศ บนยอดเขาคือ ที่ประทับของพระศิวะซึ่งในที่นี้แทนโดยศิวลึงค์ บนภูเขาดังกล่าวมีนักพรตฤาษีจำนวนมากอาศัยอยู่ตามถ้ำและต้นไม้ ซึ่งช่างแสดงผ่านภาพฤาษีในแสดงอิริยาบถต่างๆที่ประดับรอบฐาน เช่น ฤาษีกำลังถือวีณา ฤาษีเป่าขลุ่ย ฤาษีกับนกแก้ว และฤาษีถือคัมภีร์เป็นต้น
เดิมประดับอยู่บนซุ้มประตูทางเข้าของปราสาทมิเซินE1 กรอบซุ้มหน้าบันที่โค้ง กรอบหน้าบันประดับด้วยดอกไม้โดยปล่อยพื้นหลังว่างเปล่าคือลักษณะของหน้าบันในสมัยมิเซินE1 กลางหน้าบันแกะสลักภาพพระวิษณุกำลังบรรทมอยู่บนเศษนาคในมหาสมุทรหลังจากโลกได้ถูกทำลายล้างลง ระหว่างนั้นมีดอกบัวได้ผุดขึ้นจากพระนาภีของพระองค์ พระพรหมซึ่งประทับอยู่ภายในดอกบัวดังกล่าวทำการสร้างโลก ทางซ้ายและขวาของหน้าบันประดับด้วยครุฑซึ่งเป็นพาหนะของพระวิษณุ ลักษณะเด่นของพระวิษณุสังเกตได้จากการสวมกิรีฏมกุฎหรือศิราภรณ์ทรงกระบอก พระพรหมแทนด้วยภาพบุคคลที่มีพระเกศาทรงชฎามกุฎและประทับอยู่บนดอกบัว ส่วนครุฑแสดงในรูปครึ่งคนครึ่งนกและกำลังจับนาคซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของครุฑ
ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://www.art-in-sea.com/.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://www.art-in-sea.com/
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ 0 2224 7684 โทรสาร 0 2226 5355