เว็บไซต์ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเณย์ กำลังทำการปรับปรุงบางส่วน ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ
ติดต่อภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คลิก
ฐานชั้นที่สองของจันทิจาโกสลักภาพเล่าเรื่องมหาภารตะตั้งแต่โดยเริ่มตั้งแต่พวกปาณฑพเล่นสกากัลพวกเการพ การเปลื้องผ้านางเทราปตี การถูกขับไล่ออกจากเมืองจนถึงพระอรชุนไปบำเพ็ญตบะที่เขาอินทรกิละ
สำหรับภาพนี้เป็นภาพอรชุนซึ่งต้องการอาวุธปาศุปัตจากพระศิวะ จึงเดินทางไปยังเขาอินทรกิละเพื่อบำเพ็ญตบะ อรชุนได้ผจญภัยมากมายและในที่สุดได้พบฤาษีไทวปายานะ ต่อมาอรชุนได้บำเพ็ญตบะโดยการยืนขาเดียวเพื่ออัญเชิญพระศิวะ
ฐานชั้นที่สองของจันทิจาโกสลักภาพเล่าเรื่องมหาภารตะตั้งแต่โดยเริ่มตั้งแต่พวกปาณฑพเล่นสกากัลพวกเการพ การเปลื้องผ้านางเทราปตี การถูกขับไล่ออกจากเมืองจนถึงพระอรชุนไปบำเพ็ญตบะที่เขาอินทรกิละ
สำหรับภาพนี้เป็นภาพทุรโยธน์เปลื้องผ้านางเทราปตี เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการแพ้พนันของพวกปาณฑพทุรโยธน์จึงได้ฉุดลากนางเทราปตีและเปลื้องผ้าต่อหน้าธารกำนัลเพื่อให้ได้อาย แต่นางเทราปตีได้สวดอ้อนวอนต่อพระกฤษณะทำให้ผ้าของนางยาวไม่สิ้นสุด
ฐานชั้นที่สองของจันทิจาโกสลักภาพเล่าเรื่องมหาภารตะตั้งแต่โดยเริ่มตั้งแต่พวกปาณฑพเล่นสกากัลพวกเการพ การเปลื้องผ้านางเทราปตี การถูกขับไล่ออกจากเมืองจนถึงพระอรชุนไปบำเพ็ญตบะที่เขาอินทรกิละ
สำหรับภาพนี้เป็นภาพยุธิษฐิระกำลังเล่นสกากับเการพภายในอาคาร ส่วนปาณฑอื่นๆ เช่น ภีมะ อรชุน นกุลและสหเทพยืนอยู่ด้านนอก การตีความบุคคลนี้สามารถตีความได้จากการสังเกตเครื่องแต่งกาย เช่น ภีมะและอรชุนมักสวมมงกุฎที่มีสองก้ามคล้ายก้ามปู โดยภีมะมักนั่งผ้าเตี่ยวแสดงความแข็งแรง
ฐานชั้นแรกของจันทิจาโกสลักภาพเล่าเรื่องนิทานปัญจตันตระในภาษาชวาและเรื่องกุญชรกรรณคือเรื่องที่ยักษ์ไปเห็นกระทะทองแดงที่ถูกเตรียมไว้สำหรับเพื่อนของตนในนรก จึงนำข่าวมาบอกเพื่อเพื่อให้เพื่อปฏิบัติธรรมและเข้าถึงพระมหาไวโรจนะภาพนี้เป็นภาพกระทะทองแดงรูปวัวซึ่งนายนิรินบาลกำลังเตรียมสำหรับเพื่อนของกุญชรกรรณะ
จันทิจาโก (CandiJago) เป็นที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าวิษณุวรรธนะแห่งราชวงศ์สิงหาส่าหรีจันทิแห่งนี้เป็นเทวาลัยที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อโมฆปาศ(พระโพธิสัตว์อวโลกิเตสวรถือบ่วงบาศ) อย่างไรก็ตาม ฐานของเทวาลัยหลังนี้กลับเล่าเรื่องในศาสนาฮินดู อันแสดงให้เห็นการผสมผสานกันระหว่างศาสนาทั้งสอง ฐานของเทวาลัยแห่งนี้แบ่งออกเป็นสามชั้น ชั้นแรกเป็นเรื่องปัญจตันตระและกุญชรกรรณะ ชั้นที่สองและชั้นที่สามเป็นเรื่องมหาภารตะ
ฐานไพทีเตี้ยๆของจันทิกิดาลประดับเรื่องพญาครุฑ โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ พญาครุฑกำลังแบกมารดาของนาค ครุฑกำลังแบกเหล่านาค (ตามที่ปรากฏในภาพ)และพญาครุฑแบกน้ำอมฤต การสลักเรื่องพญาครุฑนี้มีความเชื่อว่าเป็นการปลดปล่อยวิญญาณผู้ตายให้ได้รับโมกษะ (การหลุดพ้นจากสังสารวัฏ) เนื่องจากน้ำอมฤต เป็นสัญลักษณ์ของความไม่ตาย
รายละเอียดเรือนธาตุของจันทิกิดาล ซึ่งเหนือประตูกลางปรากฏหน้ากาลที่มีลักษณะดุร้ายตามแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก กล่าวคือ เป็นหน้ากาลที่มีปากล่าง มีเขี้ยวยื่นออกมา มีเขาและมีมือที่ชูนิ้วขึ้นในท่าขู่ (ดรรชนีมุทรา) หน้ากาลที่ด้านบนสุดของประตูใหญ่นั้น ย่อมเป็นรูปแบบที่สืบทอดมาจากการประดับซุ้มกาล-มกรครอบซุ้มประตูในศิลปะชวาภาคกลางนั่นเอง อย่างไรก็ตาม มกรนั้นได้หายไปเหลือแต่เพียงหน้ากาลในระยะนี้
เรือนธาตุยังปรากฏ “เส้นรัดอก” รัดกลางเรือนธาตุซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะชวาภาคตะวันออก รัดอกนี้แท้จริงแล้วก็คือเส้นคาดเรือนธาตุสองชั้นที่สืบมาตั้งแต่ศิลปะชวาภาคกลางตอนปลายส่วนซุ้มจระนำขนาดเล็กทั้งสองที่ขนาบข้างประตูนั้น คงได้แก่ซุ้มทวารบาลของพระศิวะ อันได้แก่นันทิเกศวรและมหากาล
จันทิกิดาล (CandiKidal) เป็นสถานที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอนุษบดีแห่งราชวงศ์สิงหาส่าหรี พระเจ้าอนุษบดีสวรรคตใน พ.ศ.1791 เนื่องจากการสวรรคตกับพิธีศราทธ์ที่อุทิศเทวาลัยน้ำต้องห่างกัน 12 ปีเสมอ เทวาลัยหลังนี้จึงควรสร้างเสร็จใน พ.ศ. 1803
เทวาลัยประกอบด้วยฐานสามชั้นซึ่งปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องพญาครุฑ ถัดขึ้นมาเป็นเรือนธาตุซึ่งมีขนาดเล็กตามแบบชวาภาคตะวันออก ด้านหน้าปรากฏประตูและซุ้มจระนำสำหรับทวารบาล ส่วนยอดด้านบนเป็นชั้นวิมานที่ประกอบด้วยหน้ากระดานคู่สลับกับเรือนธาตุจำลองที่ประดับด้วยอาคารจำลองจำนวนห้าหลังเรียงกัน
ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://www.art-in-sea.com/.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://www.art-in-sea.com/
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ 0 2224 7684 โทรสาร 0 2226 5355