เว็บไซต์ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเณย์ กำลังทำการปรับปรุงบางส่วน ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ
ติดต่อภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คลิก
สังกัด: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ตำแหน่ง ชื่อ/นามสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี Asst. Prof. Dr. Chedha Tingsanchali
คุณวุฒิการศึกษา ศศ.บ (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) เกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) มหาวิทยาลัยศิลปากร Ph.D. (History of Art), National Museum Institute New Delhi, India
ผลงานทางวิชาการ หนังสือ /ตำรา /บทความ พระพุทธรูปในศิลปะอินเดีย พ.ศ.2551 งานวิจัย ลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะคุปตะ-วกาฎกะ และประเด็นเชื่อมโยง กับลวดลายในศิลปะทวารวดีทางภาคกลางของประเทศไทย ศิลปะปาละกับอิทธิพลต่อศิลปะไทย
หลุมศพของ Hang Kasturi นักรบชาวมาเลย์ผู้มีชื่อเสียง เป็นหลุมศพเก่าแก่ของมาเลเซีย มีอายุในศตวรรษที่ 15 หลุมศพแบบมาเลย์เรียกว่า makam (ในภาษาอารบิก) หรือ pusara (ในภาษาสันสกฤต) การสร้างหลุมฝังศพขนาดใหญ่มักสร้างเพื่อราชวงศ์ บุคคลสำคัญในทางศาสนา ผู้มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ รูปแบบของหลุมศพมักล้อมรอบด้วยกำแพง มีซุ้มประตูทางเข้าขนาดใหญ่ หลุมศพจะมีรูปแบบต่างจากหลุมศพคนทั่วไปคือมีการตกแต่งเป็นพิเศษ เช่น หลุมศพของ Hang Kasturi ตั้งอยู่บนแท่น 2 ชั้น รอบแท่นตกแต่งด้วยช่องสามเหลี่ยม ด้านบนเป็นหลุมศพทรงครึ่งวงรี ที่มุมของแท่นทั้ง 4 ด้านมีเสากลมมีหัวเสารูปสี่เหลี่ยม ทั้งหมดทาด้วยสีขาว
รูปแบบการตกแต่งอาคารด้วยกระเบื้องเป็นอิทธิพลของชาว Dutch ที่เข้ามาสร้างอาคาร และประดับตกแต่งอาคารด้วยกระเบื้องที่นำเข้ามาจาก Holland กระเบื้องในยุคแรกจะเป็นกระเบื้องสีน้ำตาล ต่อมาเกิดความนิยมกระเบื้องเคลือบเรียกว่า กระเบื้อง majorica ที่มีการตกแต่งลวดลายแบบศิลปะ Art Nouveau กระเบื้อง majorica ผลิตที่ประเทศอังกฤษ แต่มีการเรียกชื่อตามเมืองท่าที่ส่งออกทางทะเล คือ เมือง Majorica ประเทศอิตาลี ในราว ค.ศ.1920 เมื่อรูปแบบความนิยมศิลปะได้เปลี่ยนจากศิลปะ Art Nouveau สู่ศิลปะ Art Deco ชาวอังกฤษได้ย้ายแหล่งผลิตกระเบื้องไปที่ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีแหล่งดินประเภทเดียวกัน และจ้างชาวจีนมาเขียนรูปสัญลักษณ์มงคลต่างๆ พร้อมทั้งส่งขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นที่นิยมในพื้นที่นี้อย่างมาก กระเบื้องเคลือบที่นำเข้ามานี้ใช้ตกแต่งตามผนังอาคาร ส่วนที่ไม่เคลือบเป็นกระเบื้องดินเผาใช้ปูพื้น
ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://www.art-in-sea.com/.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ http://www.art-in-sea.com/
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ 0 2224 7684 โทรสาร 0 2226 5355